เพิ่ม HTML

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

E-Government in Action

E-Government in Action
นฤมล วีระสถิตย์

ภาครัฐกับการก้าวสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เบื้องหน้าเบื้องหลังการก้าวสู่ e-Government ในหน่วยงานภาครัฐ
ภาครัฐนั้นถือว่ามีบทบาทเป็นระดับแนวหน้าในการบริหารราชการแผ่นดินและรัฐบาลทั่วโลกต่างก็เผชิญความท้าทายเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ ทำอย่างไรในการที่จะนำระบบสารสนเทศเข้ามาปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของหน่วยงานและการปรับปรุงบริการของภาครัฐ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้การบริการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและโปร่งใส ตลอดจนการบริการอย่างทั่วถึงและเสมอภาค กระแสความต้องการเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตั้งเป้าหมายในการบรรลุผลสำเร็จดังกล่าวโดยการสร้าง e-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาและปรากฏให้เห็นเด่นชัดครั้งแรกในระยะ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการจัดประชุม Global Forum ในเรื่อง e-Government ขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงวอชิงตันดีซี และล่าสุดในเดือนมีนาคมที่เพิ่งผ่านมานี้ รัฐบาลอิตาลีได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Global Forum on e-Government ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ขึ้นและจะนำผลสรุปจากการประชุมเข้าไปบรรจุในวาระการประชุมกลุ่มประเทศ G-8 ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ที่จะถึงนี้ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในขณะเดียวกันองค์การสหประชาชาติ โดยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและสังคมได้กำหนดลำดับความสำคัญในการส่งเสริมการใชช้ IT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับในส่วนของธนาคารโลกได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้โดยตรง และธนาคารโลกได้ให้คำจำกัดความคำว่า e-Government ไว้ได้ดีพอสมควร ว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การใช้ ICT (Information and Communications Technologies) ในการปรับปรุงประสิทธิภาพความสัมฤทธิ์ผล ความโปร่งใสและความเชื่อถือได้ของรัฐบาล
จากงานสัมมนา CIO Conference เรื่อง e-Government in Action ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2544 ณ ห้องบางกอกคอนแวนชั่น โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรันพลาซ่า ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะประธารคณะทำงานด้านการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้กล่าวไว้าว่า
ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว นับแต่การจัดตั้งคณะทำงานชุดต่าง ๆ ใน e - Thailand ซึ่งเป็นผลพวงมาจาก e - ASEAN ที่ได้ไปทำความตกลงมาแล้วในปีที่ผ่านมา โดยในชุดของ e - Government ภายใต้ e - Thailand นั้น ได้แต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงาน และให้ดำเนินการจัดตั้งโครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยมีผู้สนับสนุนร่วมจาก 4 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี สภาพัฒน์ฯ สำนักงบประมาณ และสำนักงาน กพ. ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว รวมทั้งประธารคณะทำงานด้านการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ได้ลงนามในเอกสารโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงการนี้เป็นทีมงานที่มาจากหลายหน่วยงานหลักของภาครัฐซึ่งทีมงานส่วนหนึ่งจะทำงานโครงการนี้ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีสำนักงานโครงการตั้งอยู่ที่เนคเทค ระยะเวลาโครงการ 2 ปี
รูปธรรมของโครงการนี้เป็นการปูแนวทางการดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาวต่อไป ได้แก่การวางแผนหลัก แผนปฏิบัติการ กรอบกลยุทธ์ รวมทั้ง การดำเนินการโครงการตัวอย่างนำในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การให้บริการ ข้อมูลข่าวสารแบบออนไลน์ การให้บริการพื้นฐาน เช่นการขอทำบัตร การจดทะเบียนต่าง ๆ แบบออนไลน์ การก่อตั้ง Payment Gateway และการดำเนินการในเรื่อง e - procurement ซึ่งกรอบการดำเนินงานเหล่านี้ไม่แตกต่างจากสิ่งที่ประเทศนำต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นได้วางเป้าหมายไว้สำหรับการดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
การก้าวสู่ e - Government ของภาครัฐนั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถเนรมิตความสำเร็จได้ภายในพริบตา เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐทุกหนแห่งในโลกนี้ได้อยู่ในกรอบ ระเบียบ และวิธีการที่ล้าสมัยและไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ด้วยเหตุนี้ในการดำเนินงานเพื่อก้าวสู่ e - Government มีสิ่งที่รัฐบาล รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาดำเนินการ จึงพอจะกล่าวถึงในที่นี้เป็นลำดับดังนี้

รัฐจะต้องตระหนักถึงบทบาทของ IT และนำมาใช้ประโยชน์
มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาคือ การใช้ IT ในหน่วยงานของรัฐจะก่อให้เกิดการคิดใหม่ทำใหม่ กล่าวคือ การปรับตัวจากองค์การที่มีธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง ไปสู่องค์ทกรทันสมัยที่มีการปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
สำหรับประเทศกำลังพัฒนา IT จะช่วยสร้างโอกาสให้แก่รัฐบาลในการสร้างรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายของโลก และเป็นการก้าวกระโดดในการปรับกระบวนการทำงานโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในสำนักงานเพื่อวิธีการทำงานใหม่ และใช้เครื่องมือของ IT ในการเปิดรับข้าราชการที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ
บทบาทของ IT และอุปกรณ์สื่อสารจะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ได้แก่ บทบาทในอนาคตของโทรทัศน์ดิจิตอล และอินเทอร์เน็ตในรุ่นต่อไป การศึกษาผ่านระบบ IT จะเพิ่มสูงขึ้น การเข้าถึงของประชาชนจะกระทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นโดยรัฐบาลมีส่วนสนับสนุน
การใช้ประโยชน์ IT ในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประชาชนในการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ระบบการติดต่อราชการที่สลับซับซ้อนจะถูกแทนที่ด้วยระบบใหม่ที่ใช้ IT ซึ่งสามารถตอบสนองประชาชนและภาคธุรกิจได้ทั้งในเรื่องของการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายด้วยระบบ Single Portals และ Single Application แบบ Online ของภาครัฐ

การปรับเปลี่ยนและการปฏิรูป
การดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ โดยการยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติแบบเดิม ๆ ซึ่งมีขั้นตอนซับซ้อน ซึ่งวิธีการแบบเก่าจะไม่เอื้ออำนวยการร่วมมือกับระหว่างหน่วยงาน การดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ต้องการกลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Strategy) ประเด็นหลักก็คือ การจัดการเพื่อเปลี่ยนแปลงจากการใช้กระดาษไปสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์.ปรับกระบวนการทำงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในหน่วยงาน และตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ กำหนดรอบการทำงานและเครื่องมือที่จำเป้นต้องใช้ในการให้บริการของภาครัฐ รวมทั้งระเบียบ วิธีการ และกฎหมายที่จำเป็นในการสนับสนุนวิธีการให้บริการแบบใหม่ การปฏิรูประบบราชการ ซึ่ง ก.พ. คงต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้การก้าวสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปได้ในภาคปฏิบัติ

การดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ในการสร้างรัฐบาลอเล็กทรอนิกส์จะต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่แน่นอน ได้แก่ รัฐบาลต้องการอะไรจากการดำเนินงานของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลมองหาแนวทางใหม่ในการให้บริการประชาชน หรือเพียงแต่ต้องการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์มาให้บริการตามแนวทางการทำงานแบบเดิม
สิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับแรกในการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ก็คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน IT (IT Action Plan) และการปรับกระบวนการทำงานของภาครัฐ
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะประสบผลสำเร็จโดยอยู่บนสมมติฐานที่ว่าประชาชน และภาคธุรกิจสามารถมีเครื่องมือในการติดต่อกับรัฐบาลแบบออนไลน์ได้ การดำเนินงานเพื่อให้เกิดการให้บริการประชาชนจะมีงานด้านเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งภาครัฐจะต้องพัฒนาความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาขีดความสามารถในด้านเทคนิค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการประชาชน
รัฐบาลจะต้องรับประกันความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ของการให้บริการออนไลน์ หรือ กล่าวโดยตรง ก็คือ การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของประชาชนและข้อมูลส่วนตัวด้วย รัฐบาลจะต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจถึงโอกาสที่จะได้รับในการบริการที่ไม่ซับซ้อน การปรับปรุงการให้บริการซึ่งเป็นแนวทางใหม่
รัฐบาลจะต้องสามารถดำเนินงานได้อย่างสัมฤทธิ์ผลของการบริการแบบออนไลน์ ตรงตามความคาดหวังของประชาชนในเรื่องความสะดวก รวดเร็ว เวลาที่ให้บริการ ความง่าย และการตอบสนองอย่างเป็นรูปธรรม
รัฐบาลจะต้องลดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการของรัฐบาล รัฐบาลจะต้องมีความสามารถในการบูรณาการ (Integrate) ระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดแหล่งข้อมูลเดียวกันที่ตอบสนองบริการพื้นฐานสำหรับประชาชน

ลดช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำจากการใช้ IT
การใช้ IT ของภาครัฐจะช่วยให้ประชาชนถึงการให้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้ทุกที่ ทั่วไทย ทันใด ทุกเวลา ซึ่งเป็นการเปิดยุคใหม่ของการให้บริการของภาครัฐ ประชาชนไม่ต้องเป็นผู้รอรับบริการอย่างเช่นในระบบเก่า ในขณะที่ รัฐบาลสามารถใช้ IT เป็นเครื่องมือในการให้บริการประชาชนได้คราวละมาก ๆ ทำให้ประชาชนสามารถคาดหวังในสิ่งที่ตนเองต้องการจากรัฐได้ และรัฐบาลเองก็ถือโอกาสนี้ในการปรับปรุงบริการและภาพพจน์ของภาครัฐ
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการให้บริการประชาชนให้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และปรับปรุงการให้บริการต่าง ๆ อาทิเช่น ร้านบริการเบ็ดเสร็จ (Electronic One Stop Shop) การบริการแบบออนไลน์ (Online Services) ซึ่งบริการเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกชนชั้น ทำให้สามารถลดช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจได้
การปรับปรุงการให้บริการภาคธุรกิจของรัฐบาล เป็นการสร้างความเท่าเทียมกันให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SME ซึ่งโดยปกติจะมีข้อจำกัดในเรื่องความพร้อมด้านทรัพยากร
ระบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบออนไลน์จะช่วยให้การแข่งขันทางธุรกิจในการประมูลงานการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเป็นไปอย่างยุติธรรม โปร่งใส และมีความเท่าเทียมกัน
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและสังคมประชาชน จะช่วยส่งเสริมให้เกิดจุดหักเหจากความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลกลายเป็นโอกาสทางดิจิตอลได้ (Digital Opportunity)

ฝันให้ไกล ไปให้ถึง e-Government
ทุกวันนี้เราพูดถึงกันมากมายในเรื่อง ระบบเศรษฐกิจใหม่ ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิตอล ตลอดจนระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ กระแส "e" ทั้งหลายได้แพร่หลายในภาคเอกชนมาก่อนแล้ว ทั้งในเรื่อง e - Business และ e - Commerce โดยภาคธุรกิจได้ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบต่าง ๆ ในทุกสังคมโลกกำลังได้รับผลพวงของ IT ไม่เว้นแม้แต่ภาครัฐซึ่งกระแส e - Government กำลังรุกเข้าใกล้ตัวเข้ามาที่อยู่ในหน่วยงานภาครัฐ และเราซึ่งเป็นประชาชนก็ได้เริ่มรับรู้และเรียนรู้ถึงกระแสดังกล่าวได้ จากที่ได้รับทราบถึงนโยบายของภาครัฐในเรื่องของ e – Government กันเราแล้วว่าเราคงจจะหลีกเลี่ยงในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศกันไม่พ้นแน่นอน เมื่อหลายปีก่อนประเทศไทยมีการรณรงในเพื่อให้คนในประเทศสามารถอ่านออกเขียนได้ นับจากนี้ไปรัฐบาลคงจะต้องรณรงในเรื่องของการเรียนรู้ในเทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเทอร์เน็ต เพราะจากนี้ไปชีวิตของเรานับจากการเกิด แก่ ไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตคุณจะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อกลางในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น