เพิ่ม HTML

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

ผู้บริหารต้องคิด Present Value เพื่อการบริหารงบประมาณที่แม่นยำ

ผู้บริหารต้องคิด Present Value เพื่อการบริหารงบประมาณที่แม่นยำ
ปัญญา เปรมปรีดิ์

ผู้บริหารต้องคิด Present Value ให้เป็น เพื่อที่จะคิดถึงเรื่องการใช้งบประมาณต่าง ๆ ในแต่ละปีให้กลับมาเป็น "ค่าปัจจุบัน" หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Present Value
ผู้บริหารต้องคิด Present Value เป็น
ผมเห็นหน่วยงานหนึ่งเสนอโครงการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อรับส่งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามา เขาต้องการเงิน 181 ล้านบาท นี่เป็นโครงการระยะที่ 3 แล้ว หรือคือได้มีการขอและจัดหามาแล้ว สิ่งที่เขาต้องการคือตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมเพิ่มจาก 4 แห่งให้เป็น 25 แห่ง แต่ละแห่งเสียเงินซื้อจานดาวเทียมจานละ 5 ล้านกว่าบาท และเมื่อบวกกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นตู้ชุมสาย PABX เร้าเตอร์, อีเทอเน็ตสวิทชิ่ง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์...ก็ตกเข้าไปแห่งละ 8-9 ล้านบาท โครงการนี้ได้รับอนุมัติอย่างสะดวก เพราะใคร ๆ ก็สนับสนุนรัฐบาลยุคนั้นเห็นแก่สิ่งแวดล้อม แต่หน่วยงานเกิดจัดหาเพิ่มไม่ได้ ทั้งนี้เพราะค่าเงินดอลล่าร์มันขึ้น เขาก็เลยส่งกลับเข้ามาของวงเงินเพิ่มเป็น 220 ล้านบาท มาคราวนี้เกิดมีคนสนใจเรื่องวิธีคิดเปรียบเทียบในด้านการลงทุน จึงขอให้หน่วยงานกลับไปทำตัวเลขเปรียบเทียบระหว่างการใช้จานดาวเทียมกับการเช่าสายภาคพื้นดิน มันก็เลยแดงออกมาว่าผู้บริหารของหน่วยงานดังกล่วคิดเรื่องเงินไม่เป็นคือไม่มีการเปลี่ยนเงินที่จะต้องจ่ายในปีต่าง ๆ ให้กลับมาเป็น "ค่าปัจจุบัน" หรือที่ฝรั่งเรียกว่า "Present Value" แถมยังพยายามจะปิดข้อมูลเพื่อให้เห็นว่าต้องลงทุนซื้อจานดาวเทียม เรื่องก็เลยถูกตีกลับและให้ศึกษากันใหม่
ครับ จริง ๆ แล้วมี 2 ประเด็นในโครงการนี้ ประเด็นแรกคือการเปรียบเทียบเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใช้ดาวเทียมกับการสื่อสารที่ใช้ไฟเบอร์ออฟติค ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริหารด้านไอทีไปจนถึงซีอีโอควรจะรู้เอาไว้บ้าง ส่วนประเด็นที่ 2 คือ การเปรียบเทียบโครงการหรือวิะการที่จะใช้ในโครงการนั้นมันต้องคิดค่าของเงินให้เป็นค่าปัจจุบัน แล้วจึงจะนำมาเปรียบเทียบกันได้เจ้าประเด็นที่ 2 นี้เป็นหลักการที่สำคัญ ผมจึงจะขอพูดเสียก่อนเสร็จแล้วจะจบท้ายด้วยประเด็นทางเทคนิค

Present Value คืออะไร
Present Value ก็คือค่าของเงิน ณ จุดเริ่มต้นของโครงการ เงินที่เราจะต้องจ่ายไปในโครงการนั้นมิใช่ว่าจะจ่ายในวันแรกไปหมดทุกเรื่องการจ่ายเงินต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา เช่น บางอย่างจ่ายเมื่อเซ็นสัญญา บางอย่างจ่ายเมื่อตรวจรับเสร็จ บางอย่างจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีตามที่ตกลงกันไว้ เงินก้อนต่าง ๆ เหล่านี้เราต้องคิดว่าจะมีค่า ณ วันเริ่มต้นโครงการเท่าใด ถ้า r เป็นอัตราดอกเบี้ยต่อหน่วย (ถ้าบอกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ให้เอา 100 ไปหารเสียก่อน) n เป็นระยะเวลาจากจุดเริ่มต้นโครงการไปจนถึงวันที่จ่ายเงิน และ P เป็นจำนวนเงินที่จ่าย เราก็จะใช้หลักการคิดดอกเบี้ยทบต้นธรรมดา ๆ ได้ว่า Present Value * (I-r)n = P หรือคือ
Present Value = P/(I+r)n
อนึ่งควรสังเกตว่า n นั้นเป็นจำนวนปี มันอาจมีเศษทศนิยมอยู่ด้วยก็ได้

ทำไมต้องคิดเป็น Present Value
เรื่องนี้ที่จริงแล้วน่าจะมาจากแขก เพราะแขกที่ทำธุรกิจต่าง ๆ นั้นเขามักจะใช้นโยบายว่า เป็นเจ้าหนี้ต้องรีบทวงถามและเก็บเงินแต่ถ้าเป็นลูกหนี้ต้องพยายามจ่ายให้ช้าที่สุด ที่เขาคิดกันอย่างนี้มี 2 สาเหตุ เหตุแรกก็คือ เก็บหนี้ได้เร็วก็จะได้นำเงินมาฝากแบ็งก์ซึ่งจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จ่ายหนี้ให้ช้าก็เพื่อเอาเงินนั้นมาฝากกินดอกเบี้ยไปก่อน ส่วนสาเหตุที่ 2 ก็คือเงินตอนนี้ย่อมมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต
ครับ ๆ ฟังแค่นี้ก็น่าจะเห็นภาพแล้วนะครับว่าการลงทุนอะไรก็ตาม ถ้ารวมยอดเงินเป็นจำนวนเท่ากันก็ควรเลือกหนทางที่จ่ายเงินช้าที่สุด ทั้งนี้เพราะเงินส่วนที่ยังไม่ได้จ่ายออกไปนั้นเราสามารถนำไปฝากธนาคารพาณิชย์เพื่อเอาดอกเบี้ยไปก่อนเมื่อถึงวันที่ต้องชำระหนี้จึงค่อยเบิกออกมาจ่ายเขาไป ทำจนจบโครงการแล้วก็จะได้ดอกเบี้ยเป็นส่วนเกิน มันดีกว่าการจ่ายครั้งเดียวในวันเริ่มต้นของโครงการ
โอเค ทีนี้เราลองมาดูว่าแนวคิดนี้จะเอามาประยุกต์ในการเลือกหนทางการลงทุนให้แก่หน่วยงานที่กล่าวมาได้อย่างไร
ในโครงการนี้จริง ๆ แล้วหน่วยงานมีทางเลือกใหญ่ ๆ 2 ทางเลือก ทางแรกคือซื้อจานดาวเทียมมาติดตั้ง 21 จังหวัดตาที่ขอมาในครั้งที่สอง ทางแรกนี้หน่วยงานจะต้องจ่ายเป็นเงินก้อนโต เพราะเป็นการซื้อและติตั้งจานดาวเทียม ตามแผนงานแล้วปีที่ 1 จะติดตั้ง 6 แห่ง ปีที่ 2 จะติดตั้ง 8 แห่ง และปีที่ 3 จะติดตั้ง 7 แห่ง ถ้าคิดราคาคร่าว ๆ แห่งละ 8.5 ล้านบาทก็จะจ่ายในปีที่ 1 เป็นเงิน 51 ล้านบาท หลังจากนั้นก็ใช้งานไป และต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาเป็นรายปีไปเครื่องมือเหล่านี้ก็คงจะใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี อย่างนี้เราก็จะรวมเป็นค่าใช้จ่ายได้
แต่...เขาไม่ให้เอาเลขจำนวนเงินมาบวกกันดื้อ ๆ นะครับเราควรคิดว่าเราจะต้องเอาเงินมาฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เป็นจำนวนเท่าใดจึงจะพอจ่ายในโครงการนี้ นี่คือ Present Value ของเงินลงทุนทั้งหมด ผมจะสมมุติเป็นกรณีย์ตัวอย่างให้ดู คือลองคิดระยะเวลาของโครงการเป็น 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 5 ต่อปี และค่าบำรุงรักษาเป็นร้อยละ 10 ต่อปี (ของราคาสินค้า) อย่างนี้เราจะคำนวณได้ดังนี้
1. ค่าติดตั้งจานดาวเทียมในปีที่ 1 เป็นจำนวน 51 ล้านบาท จ่ายเงิน ณ. วันสิ้นปี คิดเป็นค่าปัจจุบัน = 51/(1.05) = 48.57 ล้านบาท
2. ค่าติดตั้งจานดาวเทียมในปีที่ 2 เป็นจำนวน 68 ล้านบาท จ่ายเงิน ณ. วันสิ้นปีที่ 2 คิดเป็นค่าปัจจุบัน = 68/(1.05)2=61.67 ล้านบาท
3. ค่าติดตั้งจานดาวเทียมในปีที่ 3 เป็นจำนวน 59.5 ล้านบาท จ่ายเงิน ณ. วันสิ้นปีที่ 3 คิดเป็นค่าปัจจุบัน = 59.5/(1.05)3= 51.39 ล้านบาท
4. ค่าบำรุงรักษาของเครื่องมือต่าง ๆ ในปีที่ 1 = ไม่มี
5. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 2 = 0.1*(51) = 5.1 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 2 จึงมีค่าปัจจุบัน = 51/(1.05) = 4.85 ล้านบาท
6. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 3 = 0.1*(51+68) = 11.9 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 3 จึงมีค่าปัจจุบัน = 11.9/(1.05)2 = 10.79 ล้านบาท
7. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 4 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 4 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)3 = 15.41 ล้านบาท
8. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 5 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 5 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)4 = 14.68 ล้านบาท
9. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 6 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 6 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)5 = 13.98 ล้านบาท
10. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 5 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 7 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)6 = 13.31 ล้านบาท
11. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 8 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 8 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)7 = 12.68 ล้านบาท
12. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 9 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 9 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)8 = 12.08 ล้านบาท
13. ค่าบำรุงรักษาในปีที่ 10 = 0.1*(51+68+59.5) = 17.85 ล้านบาท จ่าย ณ. วันเริ่มต้นของปีที่ 10 จึงมีค่าปัจจุบัน = 17.85/(1.05)9 = 11.50 ล้านบาท
และผมก็เชื่อว่ามันมีผลรวมของค่า Present Value ที่ต่ำกว่าการลงทุนแบบที่ 1 ที่ผมเชื่อเช่นนั้นก็เพราะเทคโนโลยีดาวเทียมนั้นเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มหมดสมัยแล้ว ค่ายิงดาวเทียมนั้นแพงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ค่าวางสายสื่อสารภาคพื้นดิน (ด้วยไฟเบอร์ออฟติค) นั้นถูกลงเรื่อย ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะมันอยู่ในที่ร่มตัวเคเบิลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติค) นั้นก็ฝังดินเอาไว้ถึงจะมีโอกาสถูกคนเอารถขุดดินไปขุดโดนเข้า แต่ก็มีเครือข่ายทางอื่นเข้ามาทดแทนได้ทันที แล้วก็ยังสามารถซ่อมแซมส่วนที่ถูกตัดทำลายให้คืนดีได้ ในด้านความเร็วของการรับส่งก็สูงกว่ามาก มันอาศัยการแยกข้อมูลเป็นท่อน ๆ แล้วส่งกระจายออกไปหลายทิศทางในเครือข่ายแล้วไปรวมตัวที่ปลายทาง มันจึงสามารถใช้ประโยชน์จากสายเคเบิลที่วางเอาไว้เกือบทั้งหมดได้พร้อม ๆ กัน แต่การส่งผ่านจานดาวเทียมนั้นจะต้องไปแบ่งเวลากันใช้ที่ตัวดาวเทียม มันจึงทำงานได้ช้ากว่า
ครับ ข้างบนนั้นคือหลักในการเปรียบเทียบโครงการ จริง ๆ แล้วเราสนใจแค่ค่า Present Value ของทั้ง 2 ทางเลือก เพราะเราจะเลือกอันที่มีค่า Present value ต่ำกว่า ส่วนของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และราคาในอนาคตนั้นเป็นเรื่องรองลงไปที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ หลังจากตัดสินใจ และทำสัญญาไปแล้ว เราไม่มีโอกาสมาเปลี่ยนแปลงได้อีก การจ่ายเงินจะเป็นไปตามสัญญา
อนึ่ง ผมอยากจะชี้ด้วยว่า ในการเปรียบเทียบ 2 หนทางเลือกข้างบนนี้เรายังคิดขาดไปอย่างหนึ่งคือ การใช้จานดาวเทียมตามที่หน่วยงานเสนอมานั้นเขามีเงื่อนไขอยู่อันหนึ่ง คือจะได้ใช้ตัวดาวเทียมของการสื่อสารฟรีไปตลอดโครงการ ซึ่งผู้เสนอโครงการถือว่าเป็นข้อได้เปรียบ แต่จริง ๆ แล้วเราต้องคิดในมุมกว้าง คือสิ่งที่ได้ฟรีมานี้มันไม่ใช่ของแท้ เพราะรัฐบาลไทยเองได้จ่ายเงินไแล้วการเปรียบเทียบที่ถูกต้องนั้นต้องเอาค่ใช้จ่ายของรัฐบาลในเรื่องนี้เข้ามารวมเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการด้วย และต้องคิดเป็น Present Value เช่นกัน ซึ่งในกรณีย์นี้ค่า (1.05) นั้นจะไม่ใช่ตัวหารมันกลับเป็นตัวคูณ ทั้งนี้เพราะเงินที่รัฐต้องจ่ายไปเมื่อตอนยิงดาวเทียมขึ้นไปนั้น ในตอนนี้มันจะมีค่าเพิ่มขึ้น
อันที่จริงแล้ว การคำนวณหา Present Value นี้เป็นเรื่อพื้นฐานมาก เงินนั้นมีค่าแตกต่างกันเมื่อเราพูดกันคนละเวลา การซื้อสินค้าเป็นเงินสดกับการซื้อผ่อนส่งก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้สูตรการคำนวณ Present Value การเช่ากับการซื้อขาดก็เป็นเรื่องต้องคิดเช่นกันผู้บริหารต้องคิดตัวเลขแบบนี้ให้เป็น แต่จะต้องมีความชำนาญพอที่จะทำเองได้ ท่านที่ไม่เคยสนใจกับเรื่องอย่างนี้มาก่อนเลยนั้นตอนนี้ต้องสนใจแล้วละครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น